วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การตั้งประเด็นปัญหา

การตั้งประเด็นปัญหา


 

IS 1- การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)
เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้


IS 2- การสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation)
เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ


IS 3- การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity)
เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ






แหล่งที่มาจาก htp://teacherkobwit2010.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80/


เหตุผลที่เลือกค้นคว้าเรื่องนี้ 
เหตุผลที่เลือกศึกษาเรื่อง ความเป็นธรรมในสังคม เพราะเห็นว่าในสังคมไทยในปัจจุบันไม่ค่อยให้ความสำคัญและไม่ค่อยมีความเป็นธรรม เห็นคนหรือตัดสินคนแต่ภายนอก ชาติตระกูล ทำให้คนจนหรือคนไม่มีทางสู้ถูกเอาเปรียบ


สิ่งที่คาดว่าจะค้นพบจากการค้นคว้า
ช่วยให้เห็นว่าความชอบธรรมในสังคมตอนนี้เป็นอย่างไร ทำให้ผู้คนตระหนักถึงการให้ความเป็นธรรมในสังคม


หัวข้อย่อยที่ต้องการค้นคว้าในเรื่องนี้
1.ความหมายของการเป็นธรรมในสังคม
2.ผลกระทบที่ได้รับ
3.การแก้ไขปัญหา
4.ความสำคัญ



การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ (IS1)

การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ (IS1)

ชื่อ นางสาวปาณิสรา เงินศรีสุข ชั้นม.4/14 เลขที่ 26



ชื่อเรื่อง/หัวข้อสำคัญ

       ความเป็นธรรมในสังคม
เป็นเวลานานมากแล้วที่สังคมไทยเต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรมและความเลื่อมล้ำทางสังคมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดคงต้องเริ่มด้วย ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย คนจนต้องปากกัดตีนถีบใช้เงินเดือนชนเดือนแต่คนรวยมีรายได้มากมายมหาศาล แนวทางการแก้ไขปัญหาต้องเริ่มจากการสร้างสิทธิคือ การสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก สิทธิเป็นเรื่องของประชาชนไม่ใช่ของรัฐ เมื่อมีปัญหาประชาชนสามารถเรียกร้องได้




ชื่อครูผู้สอน ครูเขื่อนทอง  มูลวรรณ์

ชื่อครูที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง  มูลวรรณ์

ลายมือชื่อนักเรียน ปาณิสรา เงินศรีสุข

 แหล่งที่มาของข้อมูล http://www.dailynews.co.th/article/440/115166

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะประเด็นที่สนใจ มิติโลก8ด้าน





ประเด็นที่สนใจในมิติโลก8ด้าน


ความเป็นธรรมในสังคม



เหตุผลที่เลือก??

เพราะสังคมในปัจจุบันมักจะให้ความสำคัญของฐานะ ชาติกูล หน้าตาเป็นส่วนใหญ่ มักดูถูกคนที่ต่ำกว่าตน คนรวยมักมีสิทธิมากกว่า คนเราควรจะช่วยเหลือกัน ควรให้ความสำคัญเท่าๆกัน


ให้ความเป็นธรรม-ลดเหลื่อมล้ำ สังคมไทยจะไร้ปัญหา !?!


เป็นเวลานานมากแล้วที่สังคมไทยเต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย หลายองค์กรคิดและกำลังมองหาหนทางแก้ไข เพื่อสร้างความเป็นธรรม แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้สำเร็จ เพราะหลายคนยังไม่เข้าใจว่าความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยที่แท้จริงมีอะไรบ้าง
ถ้าพูดถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมที่เป็นปัญหาที่เห็นชัดเจนที่สุดในประเทศไทย คงต้องเริ่มด้วย ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย หรือ ระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน เป็นภาพสะท้อนที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของประเทศ ยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องรายได้ที่คนจนต้องปากกัดตีนถีบใช้เงินเดือนชนเดือน บางทีไม่พอก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อเลี้ยงครอบครัว แต่คนรวยมีรายได้มากมายมหาศาล ไม่เพียงเรื่องคนรวยหรือคนจน สังคมไทยมีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม  ทางกฎหมาย การเข้าถึงทรัพยากร และจุดยืนในสังคม
อีกหนึ่งปัญหาความไม่เป็นธรรมที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทยคือ ความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับคนด้อยโอกาส เช่น คนพื้นเมือง ชาวชนเขาต่างๆ มอร์แกน ชาวเล ชาวมอญ คนอพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีมาแล้วเป็นร้อยๆ ปี แต่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานภาพการเป็นคนไทยที่มีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่น หรือแม้กระทั่งปัญหาเรื่องคนจนในเมือง สลัม ปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่ถูกระบบทุนอุตสาหกรรมเข้าไปละเมิด ทำให้กลายเป็นชนชั้นล่างที่ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงในด้านต่างๆที่เป็นสิทธิอันพึงควร ตามติดด้วยปัญหา ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการเมือง สิทธิทางการเมืองขาดมิติของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นของตน
ยกตัวอย่างความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ในชุมชนพื้นถิ่นที่ทำอาชีพประมงในหลายจังหวัด เคยหาเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำ  แต่เมื่อนายทุนเอาเรือขนาดใหญ่พร้อมทั้งอวนลากที่ใช้เครื่องจักรมาลากกวาดเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปสร้างความร่ำรวย ทั้งๆที่ผิดกฎหมาย คนจนจึงหมดอาชีพลง ความไม่เป็นธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา แต่ในหลายพื้นที่ยังขาดความเหลียวแลจากผู้มีอำนาจรับผิดชอบ ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม เป็นสาเหตุของความขัดแย้งใหญ่ในบ้านเมืองมายาวนาน
สำหรับในความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในเรื่องการไม่ยอมรับสถานภาพของชาวบ้าน คนจน หรือคนพื้นเมือง เช่น การไม่ยอมรับสาธารณะบุคคลตามกฎหมาย พบว่า ชนพื้นเมือง ชาวเขา ชาวเผ่าต่างๆ มอร์แกน ชาวเล ต่างมีปัญหาไม่มีบัตรประชาชน มาอย่างยาวนาน ทั้งที่เรามีกฎหมายพ.ร.บ.สัญชาติ กฎหมายทะเบียนราษฎร ที่สามารถช่วยออกบัตรประชนให้คนเหล่านี้ได้เพียงแต่อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอยู่บ้าง ทำให้คนที่มีอำนาจไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งที่จริงแล้ว คนชนพื้นเมืองที่มีความหลากหลายในทาง วัฒนธรรม การศึกษา วิถีชีวิต และสังคมที่มีความหลากหลายเหล่านี้ สามารถเข้ามาช่วยประเทศชาติได้หลายทาง เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิม
แนวทางในการแก้ไขไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ต้องเริ่มจากการ สร้างสิทธิ คือ การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก สิทธิเป็นเรื่องของประชาชน ไม่ใช่เรื่องของอำนาจรัฐ แต่รัฐต้องมีหน้าที่คุ้มครอง และสิทธินั้นไม่ใช่การเรียกร้องอย่างเดียว ต้องลุกขึ้นมาทำด้วย เพราะสิทธิจะได้มาจากการต่อสู้ด้วยเหตุผล แต่ไม่ใช่การลุกขึ้นมาโวยวายใช้สิทธิในทางที่ผิด เมื่อมีปัญหาประชาชนสามารถเรียกร้องได้ เป็นสิทธิของประชาชนแต่ต้องทำโดยสันติ
สำหรับแนวทางของรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ควรเริ่มแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำต่างๆด้วยความจริงใจ นโยบายอะไรที่เป็นฐานประชาชนต้องให้ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินนโยบาย และได้ร่วมทำด้วย  ซึ่งก็คือหลักการกระจายอำนาจ ถ้าทำอย่างนี้ได้ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็จะลดลง เพราะทุกวันนี้มีคนไทยที่มีความสามรถอีกเยอะ แต่ติดปัญหาความไม่เป็นธรรมในด้านต่างๆ ทำให้ไม่มีโอกาสได้ต่อยอดความสามารถ สังคมต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาความไม่เป็นธรรม และขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าพร้อมๆกัน












แหล่งที่มา

http://www.dailynews.co.th/article/440/115166
















วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555






 


การจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนมาตราฐานสากล









หลักการเหตุผลของการจัดโรงเรียนมาตรฐานสากล
กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวิทยาการ สังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทาให้แต่ละประเทศไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยลาพัง จะต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การดารงชีวิตของคนในแต่ละประเทศมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สังคมโลกในยุคปัจจุบันก็เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทาให้คนต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นาไปสู่สภาวการณ์ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นแรงผลักดันสาคัญที่ทาให้หลายประเทศต้องปฏิรูปการศึกษา คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงเป็นตัวบ่งชี้ที่สาคัญประการหนึ่งสาหรับความพร้อมในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกของแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศที่จะอยู่รอดได้หรือคงความได้เปรียบก็คือประเทศที่มีอานาจทางความรู้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังปรากฏสภาพปัญหาที่คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ร่วมกัน ในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย์โดยทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มว่าคนยุคใหม่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย เป็นสัญญาณเตือนว่าโลกในยุคหน้าจะมีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเกินกว่าจะคาดคิดถึง ด้วยเหตุนี้จาเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและความสามารถในการปรับตัวให้มีคุณลักษณะสาคัญในการดารงชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน สงบ สันติ มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมเพียงพอ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนต้องมีความเป็นพลวัตน์ ก้าวทันกับสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาไทยให้พร้อมสาหรับการแข่งขันในเวทีโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1. โรงเรียนเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น เพราะในปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคมที่ไร้พรมแดนที่มีการติดต่อประสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆมากขึ้น อีกทั้งการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.. 2558 จะมีผลต่อการเปิดเสรีทางการศึกษา ซึ่งจะทาให้เกิดการแข่งขันในการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ในอนาคตโรงเรียนแต่ละแห่งจะต้องมีการแข่งขันด้านคุณภาพมากขึ้น โรงเรียนในประเทศไทยเองจาเป็นต้องพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการศึกษา
2. หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากล เนื่องจากยุคโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทาให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีศักยภาพในหลายด้าน รวมทั้งความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร คุณลักษณะในการเป็นพลโลก การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนจึงต้องปรับให้มีความเป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการศึกษา ทาให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนด้านจัดการศึกษาในประเทศไทย โรงเรียนควรหาภาคีเครือข่ายในการจัดหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรสมทบ หรือหลักสูตรร่วมกับสถาบันต่างประเทศ เพื่อความเป็นสากลของการศึกษา


 


คำถามคำตอบ

คำถาม IS 2 การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลหมายถึง
ก. การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ข. การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
การสื่อสารและการนาเสนอ
ง. การนาองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม
คำตอบ การสื่อสารและการนาเสนอ
เหตุผล การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)” ซึ่งจัดแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ประกอบด้วย
IS 1- การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกาหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
IS 2- การสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation) เป็นสาระที่ มุ่งให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนาเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ
IS 3- การนาองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ ผู้เรียน นา/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)

http://www.sobkroo.com/images/t_no.gif
แหล่งอ้างอิง  www.sobkroo.com 
วันพฤหัสที่ 19 กรกฎาคม 2555

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การตั้งชื่อเรื่องและสรุปใจความสำคัญ


ใบกิจกรรม เรื่อง การตั้งชื่อเรื่องและสรุปใจความสำคัญ


 1. ชื่อเรื่อง  มีดโกนหนวดจอมเพ้อฝัน
                   มีดโกนหนวดแสนขี้เกียจ

ใจความสำคัญ
            
     มีมีดโกนหนวดสวยอันหนึ่งทำงานอยู่ในร้านตัดผม วันหนึ่งมันจึงออกจากด้ามไปผึ่งแดด เมื่อมันเห็นพระอาทิตย์ส่องแสงสะท้อนใบมีดราวกับกระจก มันมีความรู้สึกภูมิใจในประกายของมัน ดังนั้น เมื่อมันหวนคิดถึงอดีตที่เป็นเพียงมีดโกนหนวด จึงไม่อยากกลับไปที่ร้านตัดผมอีก มีดโกนหนวดก็แอบซ่อนตัวอย่างดีเพื่อหลบสายตาคนอื่นหลายเดือนผ่านไป วันหนึ่ง มันอยากออกไปสูดอากาศ จึงออกจากที่ซ่อน   เมื่อมันมองดูตัวเอง  มันตกใจมากที่เลื่อยที่ขึ้นสนิม  และใบมีดของมันก็ไม่สะท้อนความงดงาม มันสำนึกผิดอย่างขมขื่น แต่ไร้ประโยชน์ที่จะเสียใจกับความงามที่หายไป
              

คนขี้เกียจก็เหมือนกับมีดโกนนี้ คือ การไม่ทำการทำงาน เอาแต่เพ้อฝัน  จึงสูญเสียรูปร่างและความคมไป  สนิมนั้น ก็คือความเขลาและความเกียจคร้านที่อยู่ในตัวมนุษย์นั่นเอง









2. ชื่อเรื่อง  เพื่อนรักของฉัน
                  เพื่อนดีที่ควรคบ

ใจความสำคัญ

 มีเพื่อน2คนเดินทางกลางทะเลทราย ระหว่างทางเพื่อนทั้ง2ได้โต้เถียงกันจนเพื่อนคนหนึ่งตบหน้าเพื่อนอีกคนหนึ่ง เพื่อนที่โดนตบหน้าไม่ว่าอะไรแล้วได้เขียนข้อความบนทรายว่า ''วันนี้เพื่อนรักฉันตบหน้าฉัน"  แล้วก็เดินทางต่อไปจนไปพบอ่างน้ำ เพื่อนคนที่โดนตบหน้ได้กระดดดลงไปเกิดจมน้ำเพื่อนอีกคนหนึ่งจึงกระโดดไปช่วย แล้วเพื่อนคนที่โดนตบหน้าได้บันทึกข้อความไว้บนศิลาว่า "วันนี้เพื่อรักของฉันช่วยชีวิตฉันไว้" จนเพื่อนอีกคนหนึ่งสงสัยจึงถามว่า "ทำไมตอนที่ฉันทำร้ายเธอ เธอเขียนลงบนพื้นทราย แต่ตอนนี้เธอเขียนลงบนหิน" เขาจึงตอบว่า "เมื่อเพื่อนทำร้ายเรา เราครจะเขียนลงบนทราย เพื่อให้สายลมเพื่อให้สายลมแห่งอโหสิพัดาและลบมัทิ้งไปและเมื่อมีความประทับใจเราควรจารึกไว้บนศิลาซึ่งสายลมมิอาจทำให้มันเลืองลางได้"



                                                       



3. ชื่อเรื่อง คุ้กกี้
                 ขนมคุ้กกี้ไม่ถูกโขมย


ใจความสำคัญ


ที่สนามบินนานาชาติระดับโลก มีนักธุรกิจหญิงแต่งตัวดีจำเป็นต้องรอเวลาถึง 3 ชั่วโมงในการเปลี่ยนเครื่องบินเพื่อไปจุดหมายปลายทาง เธอจึงตัดสินใจเดินไปซื้อหนังสือ 1 เล่ม และคุกกี้ 1 ห่อ และเตรียมหาที่นั่งเพื่ออ่านและกินฆ่าเวลาไปพลาง ๆเธอสอดส่ายมองหาที่นั่งเมื่อนั่งลงก็เตรียมหนังสือและคุกกี้ เพื่ออ่านและกินไปพลาง ๆ เธอสังเกตเห็นว่าข้าง ๆ เธอมีชายหนุ่มนั่งอยู่สักครู่หนึ่ง ขณะที่เธออ่านหนังสือชายหนุ่มก็หยิบขนมคุกกี้ออกจากถุงซึ่งวางอยู่ระหว่างคนทั้งสอง แล้วกินมันอย่างละชิ้น
ทุกครั้งที่เธอหยิบกิน 1 ชิ้น ชายหนุ่มก็หยิบมันกิน 1 ชิ้นทั้งสองส่งสายตามองกันเมื่อคุกกี้เหลือเพียงชิ้นสุดท้าย... ชายหนุ่มค่อย ๆ หยิบคุกกี้ชิ้นสุดท้าย...แล้วหักออกเป็น 2 ชิ้น  เธอลุกขึ้นหยิบข้าวของทั้งหมดแล้วตรงไปยังประตูขึ้นเครื่อง ภายหลังจากขึ้นเครื่องและนั่งประจำที่อย่างสบายแล้ว เธอก็หยิบหนังสือที่อ่านค้างอยู่ขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่หยิบหนังสือจากกระเป๋า ก็พบว่ามีขนมคุกกี้ 1 ห่อ เธอตกใจมาก
ถ้าคุกกี้ของฉันยังอยู่ที่นี่ ก็แปลว่า.....คุกกี้ห่อนั้นเป็นของชายหนุ่มที่แบ่งให้เธอกิน เธอลุกขึ้นทันที...
แล้ววิ่งออกจากเครื่องบินไปยังที่นั่งของชายหนุ่ม แต่คงเหลือแต่ที่นั่งว่างเปล่า มันสายไปเสียแล้วที่จะได้ขอโทษชายหนุ่ม เธอนั่นเองที่ไร้มารยาท เป็นหัวขโมยที่ไร้การศึกษาตัวจริง มีกี่ครั้งในชีวิตของคนเรา ที่ค้นพบในภายหลังว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่ใช่เรื่องจริง มันเป็นการเข้าใจผิด มีกี่ครั้งในชีวิตที่เราขาดความไว้วางใจผู้อื่น และทำให้เราตัดสินผู้อื่นจากความคิดเย่อหยิ่งของเราเอง
 แล้วคอยสงสัยตัวเองว่า
"เรามองโลกในแง่ดีพอแล้วหรือยัง?
เราเคยแบ่งปันอะไรแก่คนอื่นบ้างหรือไม่"



                                                    





นางสาวปาณิสรา  เวินศรีสุข ม.4/14 เลขที่ 26