วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะประเด็นที่สนใจ มิติโลก8ด้าน





ประเด็นที่สนใจในมิติโลก8ด้าน


ความเป็นธรรมในสังคม



เหตุผลที่เลือก??

เพราะสังคมในปัจจุบันมักจะให้ความสำคัญของฐานะ ชาติกูล หน้าตาเป็นส่วนใหญ่ มักดูถูกคนที่ต่ำกว่าตน คนรวยมักมีสิทธิมากกว่า คนเราควรจะช่วยเหลือกัน ควรให้ความสำคัญเท่าๆกัน


ให้ความเป็นธรรม-ลดเหลื่อมล้ำ สังคมไทยจะไร้ปัญหา !?!


เป็นเวลานานมากแล้วที่สังคมไทยเต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย หลายองค์กรคิดและกำลังมองหาหนทางแก้ไข เพื่อสร้างความเป็นธรรม แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้สำเร็จ เพราะหลายคนยังไม่เข้าใจว่าความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยที่แท้จริงมีอะไรบ้าง
ถ้าพูดถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมที่เป็นปัญหาที่เห็นชัดเจนที่สุดในประเทศไทย คงต้องเริ่มด้วย ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย หรือ ระหว่างคนข้างล่างกับคนข้างบน เป็นภาพสะท้อนที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของประเทศ ยกตัวอย่างง่ายๆเรื่องรายได้ที่คนจนต้องปากกัดตีนถีบใช้เงินเดือนชนเดือน บางทีไม่พอก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อเลี้ยงครอบครัว แต่คนรวยมีรายได้มากมายมหาศาล ไม่เพียงเรื่องคนรวยหรือคนจน สังคมไทยมีปัญหาความไม่เป็นธรรมทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม  ทางกฎหมาย การเข้าถึงทรัพยากร และจุดยืนในสังคม
อีกหนึ่งปัญหาความไม่เป็นธรรมที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทยคือ ความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับคนด้อยโอกาส เช่น คนพื้นเมือง ชาวชนเขาต่างๆ มอร์แกน ชาวเล ชาวมอญ คนอพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีมาแล้วเป็นร้อยๆ ปี แต่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานภาพการเป็นคนไทยที่มีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่น หรือแม้กระทั่งปัญหาเรื่องคนจนในเมือง สลัม ปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่ถูกระบบทุนอุตสาหกรรมเข้าไปละเมิด ทำให้กลายเป็นชนชั้นล่างที่ไม่มีโอกาสมีปากมีเสียงในด้านต่างๆที่เป็นสิทธิอันพึงควร ตามติดด้วยปัญหา ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการเมือง สิทธิทางการเมืองขาดมิติของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นของตน
ยกตัวอย่างความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ในชุมชนพื้นถิ่นที่ทำอาชีพประมงในหลายจังหวัด เคยหาเลี้ยงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำ  แต่เมื่อนายทุนเอาเรือขนาดใหญ่พร้อมทั้งอวนลากที่ใช้เครื่องจักรมาลากกวาดเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปสร้างความร่ำรวย ทั้งๆที่ผิดกฎหมาย คนจนจึงหมดอาชีพลง ความไม่เป็นธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา แต่ในหลายพื้นที่ยังขาดความเหลียวแลจากผู้มีอำนาจรับผิดชอบ ส่งผลให้การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม เป็นสาเหตุของความขัดแย้งใหญ่ในบ้านเมืองมายาวนาน
สำหรับในความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในเรื่องการไม่ยอมรับสถานภาพของชาวบ้าน คนจน หรือคนพื้นเมือง เช่น การไม่ยอมรับสาธารณะบุคคลตามกฎหมาย พบว่า ชนพื้นเมือง ชาวเขา ชาวเผ่าต่างๆ มอร์แกน ชาวเล ต่างมีปัญหาไม่มีบัตรประชาชน มาอย่างยาวนาน ทั้งที่เรามีกฎหมายพ.ร.บ.สัญชาติ กฎหมายทะเบียนราษฎร ที่สามารถช่วยออกบัตรประชนให้คนเหล่านี้ได้เพียงแต่อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอยู่บ้าง ทำให้คนที่มีอำนาจไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งที่จริงแล้ว คนชนพื้นเมืองที่มีความหลากหลายในทาง วัฒนธรรม การศึกษา วิถีชีวิต และสังคมที่มีความหลากหลายเหล่านี้ สามารถเข้ามาช่วยประเทศชาติได้หลายทาง เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิม
แนวทางในการแก้ไขไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ต้องเริ่มจากการ สร้างสิทธิ คือ การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก สิทธิเป็นเรื่องของประชาชน ไม่ใช่เรื่องของอำนาจรัฐ แต่รัฐต้องมีหน้าที่คุ้มครอง และสิทธินั้นไม่ใช่การเรียกร้องอย่างเดียว ต้องลุกขึ้นมาทำด้วย เพราะสิทธิจะได้มาจากการต่อสู้ด้วยเหตุผล แต่ไม่ใช่การลุกขึ้นมาโวยวายใช้สิทธิในทางที่ผิด เมื่อมีปัญหาประชาชนสามารถเรียกร้องได้ เป็นสิทธิของประชาชนแต่ต้องทำโดยสันติ
สำหรับแนวทางของรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ควรเริ่มแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำต่างๆด้วยความจริงใจ นโยบายอะไรที่เป็นฐานประชาชนต้องให้ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินนโยบาย และได้ร่วมทำด้วย  ซึ่งก็คือหลักการกระจายอำนาจ ถ้าทำอย่างนี้ได้ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็จะลดลง เพราะทุกวันนี้มีคนไทยที่มีความสามรถอีกเยอะ แต่ติดปัญหาความไม่เป็นธรรมในด้านต่างๆ ทำให้ไม่มีโอกาสได้ต่อยอดความสามารถ สังคมต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาความไม่เป็นธรรม และขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าพร้อมๆกัน












แหล่งที่มา

http://www.dailynews.co.th/article/440/115166
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น